English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

ชื่อโครงการ          มิติใหม่ความสัมพันธ์ไทย-จีนในเวทีเศรษฐกิจการค้าโลก: หลังจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO

                          New Dimensions of Sino-Thai Economic Relations: After China’s WTO Entry

ชื่อผู้วิจัย               อาจารย์อักษรศรี พานิชสาส์น

ปีที่ได้รับทุน           2546

แหล่งทุน                   สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

      บทคัดย่อ                                                

 1. ความสำคัญและที่มาของปัญหา

สาธารณรัฐประชาชนจีนมีศักยภาพที่จะเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของโลก เนื่องด้วยขนาดของประเทศจำนวนประชากร และบทบาททางเศรษฐกิจที่โดดเด่นมากขึ้นหลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างมากจากการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในและการเปิดประเทศของจีน โดยเฉพาะหลังจากที่ได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และที่สำคัญจีนเป็นมิตรประเทศที่ใกล้ชิดกับไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีผลประโยชน์แห่งชาติที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง  ปัจจัยและข้อได้เปรียบพื้นฐานของไทยในความสัมพันธ์กับจีน ไม่ว่าจะเป็นความผูกพันทางด้านเชื้อชาติ  ความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม  ตลอดจนการกลมกลืนกันทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายจีน และที่สำคัญคือ ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับจีนแม้จะมิได้มีพรมแดนติดต่อกันโดยตรง ข้อได้เปรียบเหล่านั้นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทั้งทางด้านสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ 

สำหรับในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จีนเป็นทั้งคู่ค้า และคู่แข่งของไทย เนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในสินค้าที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นหรือใช้เทคโนโลยีในระดับกลางถึงระดับล่างเป็นส่วนใหญ่  และมีการส่งออกสินค้าเหล่านั้นไปแข่งขันกันในตลาดโลก อย่างไรก็ดี ไทยและจีนก็มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ดีต่อกันเสมอมา ทั้งในเวที  WTO เวที Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) เวที Asia-Europe Meeting (ASEM) เวที ASEAN-China  และเวทีความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ดังนั้น  รายงานการวิจัยชิ้นนี้จึงได้ศึกษาทบทวนรูปแบบทางความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-จีนที่เคยปฏิบัติมา ทั้งในระดับรัฐบาลและเอกชน และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ ที่มีอยู่ตลอดจนนโยบายและพันธกรณีของจีนหลังเข้าเป็นสมาชิก WTO เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค รวมทั้งข้อได้เปรียบและศักยภาพของไทยในความสัมพันธ์กับจีน และเสนอแนะรูปแบบมิติใหม่ของความสัมพันธ์ไทย-จีนในเชิงรุก โดยการใช้เครื่องมือทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ร่วมทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น

 2. ผลการศึกษา

 แม้ว่าไทยจะมีข้อได้เปรียบในความสัมพันธ์กับจีนและมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีต่อกันในเวทีเศรษฐกิจการค้าโลกในระดับต่างๆ   ในขณะนี้ กลับปรากฏว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีนก็ยังคงประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ  ทั้งด้านการค้าและการลงทุน

ทางด้านการค้า แม้ว่าจีนจะได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันใน WTO ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการลดภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้า แต่ทางการจีนก็ได้นำเครื่องมือและมาตรการแอบแฝงบางอย่างมาใช้เป็นอุปสรรคในการนำเข้าสินค้าที่เป็นผลประโยชน์ของจีนหรือสินค้าที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง เช่น สินค้าเกษตร  ดังนั้น  ปริมาณและมูลค่าการค้าไทย-จีนจึงยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าสถานะที่ควรจะเป็น โดยไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 16 ของจีน  และแม้ว่าการค้าระหว่างไทย-จีนจะขยายตัวมากขึ้นในระยะหลังนี้ แต่สัดส่วนการค้ากับจีนก็ยังคงต่ำอยู่มาก คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.3 ของการค้ารวมของไทย หรือคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 1.5 ของการค้ารวมของจีน จึงเป็นสัดส่วนที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งสอง

ส่วนด้านการลงทุน  นักลงทุนชาวจีนได้ให้ความสนใจและเข้ามาขยายการลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้นโดยจัดอยู่ในอันดับ 7 ของนักลงทุนจากต่างประเทศในไทย แม้จะยังคงมีสัดส่วนของมูลค่าของการลงทุนไม่สูงมากนัก ส่วนการลงทุนของไทยในจีนจัดอยู่ในอันดับที่ 18 ซึ่งลดลงจากเดิมที่ไทยเคยอยู่ในอันดับ 8 ในช่วงก่อนวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาค จากข้อมูลการสัมภาษณ์พบว่า นักธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในประเทศจีนส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งมีทั้งปัญหาที่เกิดจากนักลงทุนของไทยเอง เช่น  ปัญหาการไม่ศึกษาข้อมูลของจีนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งด้านข้อสัญญา ข้อกฎหมาย/กฎระเบียบของรัฐบาลกลาง/รัฐบาลท้องถิ่น ตลอดจนข้อมูลด้านการตลาด ปัญหาการเชื่อข้อมูลโดยง่าย ปัญหาขาดการเตรียมตัวที่ดีก่อนเข้าไปดำเนินธุรกิจ ปัญหาด้านภาษาจีน ปัญหาการไม่เข้าใจลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของคนจีนในประเทศจีน เป็นต้น และปัญหาที่เกิดจากฝ่ายจีน เช่น  ระบบ/มาตรการของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นที่เข้มงวด หรือไม่โปร่งใส ปัญหาคอร์รัปชั่น  การสร้างสายสัมพันธ์เพื่อผลประโยชน์ ปัญหาด้านกฎระเบียบด้านการจ้างงาน อุปสรรคในการกระจายสินค้าภายในประเทศจีน ตลอดจนอุปสรรคกฎระเบียบในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น

นอกจากนี้  ในการวิเคราะห์ลักษณะของความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีนในปัจจุบันภายใต้รูปแบบของการทำข้อตกลงการค้าผักและผลไม้ปลอดภาษีระหว่างกัน ข้อดีของข้อตกลงในลักษณะดังกล่าวซึ่งมีกรอบเวลาและระบุขอบข่ายสินค้าที่จะเปิดเสรีให้แก่กันอย่างชัดเจน  ถือเป็นรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีนที่เป็นรูปธรรมกว่าแนวทางที่เคยปฏิบัติมา การเปิดเสรีระหว่างกันจะทำให้สินค้านำเข้าที่จะไปวางจำหน่ายในตลาดของแต่ละประเทศมีราคาถูกลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภคสินค้าเหล่านั้น  และเป็นการช่วยจูงใจให้มีการนำการค้าลักลอบตามแนวชายแดนกลับเข้าสู่ระบบมากยิ่งขึ้น  อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากโครงสร้างสินค้าพบว่า สินค้าส่งออกของไทยไปตลาดจีนส่วนใหญ่เป็นสินค้าในภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่สินค้าเกษตรมีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกรวมไปจีน และแม้ว่าไทยจะส่งออกสินค้าผักและผลไม้ไปจีนเป็นปริมาณมาก แต่มีมูลค่าต่อหน่วยต่ำ และในระยะหลังมานี้  ผักและผลไม้ของไทยบางรายการที่สามารถครองตลาดจีนได้มากเป็นอันดับต้นกลับมีการขยายตัวของส่วนแบ่งตลาดที่ลดลง ที่สำคัญ ทางการจีนได้นำมาตรการและกฎระเบียบต่างๆ ที่เข้มงวดมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารอุปสรรคทางเทคนิคในการนำเข้าสินค้าผักและผลไม้ของไทย ดังเช่นกรณีตัวอย่างปัญหาการส่งออกข้าวและลำไยของไทยไปจีน ประกอบกับรัฐบาลจีนยังคงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราสูง แม้ว่าจะมีการลดการเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าลงเหลือศูนย์

3. ข้อเสนอแนะในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน

1) ข้อเสนอแนะสำหรับภาคเอกชน

แม้ว่าในภาพรวมแล้ว ไทยกับจีนจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน แต่ในการดำเนินธุรกิจกับจีน ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องตระหนักถึงข้อเท็จจริงของสภาพการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเฉพาะข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับตลาดจีน  เช่น   จีนเป็นประเทศใหญ่แบ่งออกเป็นมณฑลต่างๆ ซึ่งแต่ละมณฑลมีขนาดใหญ่และประชากรจำนวนมาก และมีความแตกต่างทางรายได้ รสนิยม และรูปแบบของการบริโภค การจับจ่ายใช้สอย ดังนั้น ตลาดจีนจึงมีลักษณะแยกเป็นหลากหลายกลุ่ม นอกจากนี้ การขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้าภายในประเทศไปยังเขตหรือท้องที่ต่างๆ ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และมีข้อจำกัดในด้านช่องทางกระจายและวางสินค้าขายภายในประเทศ ตลอดจนรัฐบาลท้องถิ่นในมณฑลต่างๆ ของจีนมีอำนาจทางการบริหารค่อนข้างมาก เนื่องจากระบบกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น ดังนั้น ตลาดจีนจึงมีความหลากหลายในแต่ละมณฑลและมีกฎระเบียบปลีกย่อยที่ต้องเรียนรู้ นักธุรกิจไทยจึงควรมีกลยุทธ์ทางธุรกิจเน้นเจาะตลาดไปในระดับมณฑลหรือท้องถิ่นที่ธุรกิจของตนมีโอกาสหรือศักยภาพในการแข่งขัน

นอกจากนี้  นักธุรกิจไทยที่มีการลงทุนในประเทศจีนควรมีการรวมตัวและร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในรูปแบบของกลุ่ม ชมรม หรือสมาคมที่เป็นทางการ และเชิญข้าราชการหรือนักการเมืองที่มีบารมีของทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายไทยมาเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้สามารถอ้างอิงได้ในกรณีที่เกิดปัญหา และควรต้องมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย  และรวบรวมข้อมูลกฎระเบียบ กฎหมายต่างๆ ของฝ่ายจีนที่เกี่ยวข้องและจำเป็น นำมาแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษแจกจ่ายให้กับสมาชิก

2) ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐ

แม้ว่าในขณะนี้รัฐบาลไทยกำลังดำเนินนโยบายเชิงรุกในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน หากแต่จำเป็นต้องดำเนินการและนำมาตรการต่างๆ มาใช้ด้วยความรอบคอบและรู้เท่าทันฝ่ายจีน ซึ่งมีกลยุทธ์ที่แนบเนียนในการปกป้องผลประโยชน์ของจีนเอง ที่สำคัญคือ รัฐบาลไทยควรจะเตรียมความพร้อม ทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณของเจ้าหน้าที่ราชการที่จะเป็นผู้นำนโยบายและมาตรการเหล่านั้นมาดำเนินการในทางปฏิบัติ เช่น ควรที่จะเรียนรู้ภาษาจีนในระดับที่ใช้งานได้  ตลอดจนการเรียนรู้จารีต มารยาท และวัฒนธรรมที่สำคัญของจีน รวมทั้งการมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจสภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคมจีนอย่างถ่องแท้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินนโยบายและมาตรการไปในทิศทางที่จะเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยรวม พร้อมกับลดผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด

สำหรับข้อเสนอแนะรูปแบบมิติใหม่ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีน ซึ่งพิจารณาจากบริบททางภูมิเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะความได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งของไทยในภูมิภาคและความสำคัญของไทยในสายตาของฝ่ายจีนที่จะเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลของมณฑลตอนในของจีน ตลอดจนการที่รัฐบาลจีนมีนโยบายที่ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดนกับเพื่อนบ้าน ดังนั้น ไทยจึงควรใช้โอกาส ศักยภาพ และข้อได้เปรียบในบริบทดังกล่าวในการเพิ่มพูนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือในรูปแบบของการสร้างความเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับมณฑลทางตะวันตกของจีนที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากทางการจีนเนื่องจากมีความสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจภายในของจีนเองที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ตอนในทางตะวันตกตามกลยุทธ์การพัฒนาภาคตะวันตกของจีน ซึ่งได้ประกาศมาตั้งแต่ปี 2000  ความร่วมมือในมิติใหม่นี้ครอบคลุมนโยบายและมาตรการต่างๆ เช่น การจัดทำข้อตกลงร่วมกันที่จะเปิดเสรีลด/เลิกอุปสรรคทั้งด้านการค้าและการลงทุน การอำนวยความสะดวกให้แก่กันและกัน  รวมทั้งการร่วมมือกันในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะเส้นทางคมนาคม และที่สำคัญ คือ การร่วมลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม (cluster) ที่ทั้งสองฝ่ายมีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น

ดังนั้น การเชื่อมโยงกับภาคตะวันตกของจีนโดยการสร้างความเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างกันจะเป็นการใช้ประโยชน์จากลักษณะเกื้อกูลทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน ตลอดจนศักยภาพทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น  ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทางธุรกรรมและเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจของทั้งสองฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายและในระยะยาว ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเหล่านั้นก็จะสามารถขยายผลไปสู่การมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกันในมิติอื่นๆ  เช่น  การไปมาหาสู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศมากขึ้น การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สังคม และการเมือง   การร่วมมือกันทางวิชาการ  การศึกษา และการสาธารณสุข เป็นต้น และในที่สุด ความใกล้ชิดและความร่วมมือที่ดีต่อกันจะนำไปสู่ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่แน่นเฟ้นระหว่างกันมากยิ่งขึ้น   ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้งฝ่ายไทย และฝ่ายจีน ตลอดจนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคโดยรวม

  

Abstract

New Dimensions of Sino-Thai Economic Relations:

After China’s WTO Entry

 

1.    Background and significance

The People’s Republic of China has a great potential to become the world’s political and economic superpower, particularly after its entry into the World Trade Organization (WTO). With regards to Sino-Thai relations, the two countries have established a close, friendly and cooperative relationship since most of their national interests have been coincided. These close social and economic relations with China bring about several advantages to Thailand, such as their ethnical affinity, cultural similarity, and social assimilation. Importantly, though China’s and Thailand’s borders are not directly connected, they are linked by the natural boundary of the Mekong River, or the “Lancang Jiang” called by the Chinese. Therefore, this geographical proximity to China provides Thailand with a great geo-economic advantage.  As for economic issues, regardless of their high competition in the global market, Sino-Thai economic relations have still been cooperative in various international and regional forums, ranging from the WTO, APEC, ASEM, ASEAN-China framework, and the Greater Mekong Subregion Cooperation.

                 This research therefore aims to review and analyze the existing forms and patterns of Sino-Thai economic relations in both public and private sectors as well as their economic relations in various regional and international organizations, especially China’s WTO commitments, in order to analyze problems, obstacles and economic advantages that Thailand might have with China and significantly to propose new forms of bilateral economic relations which could enhance their mutual benefits and strengthen Sino-Thai relations in all terms.

2.   Research findings

                 Although Thailand is entitled to those advantages when it comes to its relations with China, as of present the Sino-Thai economic activities are being subject to several problems and obstacles. For instance, even though China has adhered to its WTO commitments in various trade-related areas, especially tariff reductions; the Chinese Governments still impose other hidden trade measures and regulations to block some imports of the politically sensitive products like agricultural products to the country. As a consequence, the proportion of Thailand’s trade with China is still dramatically low, accounting for merely 6.3% of total trade of Thailand, or less than 1.5% of total trade of China. And despite recent large expansion of Sino-Thai trade, Thailand is China’s the 16th trading partner, following some ASEAN members such as Singapore, Malaysia, and even Indonesia.  Such figures and proportions stay behind the true potential of both countries’ economies.

                  With regards to their investment relations, many Chinese investors are now more interested in investing and expanding their businesses in Thailand. Although their investment value is not considered as high as expected, they have ranked the 7th foreign investors in Thailand while Thai investors are China’s the 18th foreign investors, dropping from the 8th during the pre-Asian financial crisis in 1997. Many problems and obstacles, which most Thai investors in China have faced, have been caused by Thai investors themselves as well as by Chinese authorities. The most important problems from Thai investors themselves are their lack of well preparation to do business, their inability in Chinese language (Mandarin), and their lack of basic understanding of the Chinese rules and regulations as well as the Chinese business culture. On the other hand, the Chinese authorities have also implemented some unfair and hidden technical measures or regulations on employment, foreign currency, remittance, and other strict rules and procedures, especially imposed by the local governments. Other imbedded problems include corruption, bribery, and lack of transparency.

                With regards to the analysis of the latest agreement on zero tariff for fruit and vegetable trade between China and Thailand, the signed agreement is considered a starting point for further concrete bilateral economic cooperation. It is also expected that this bilateral agreement would help reducing trader costs and accordingly boosting exports of Thai fruits and vegetables to the Chinese market.  However, by analyzing their trade structure, it is found that most Thai exports to China are industrial products, accounting for 66% of its total exports, while Thai agricultural exports to China is less than 20%. In addition, although Thai fruit and vegetable exports to China are large in terms of export amount, their export value is not substantial due to the fact that their price per unit is quite low. Moreover, in recent years, these sectors of Thai exports have lost their shares in the Chinese market, particularly to Vietnamese competitors, who benefit from China’s half tariff reduction thanks to their directly connected border. More importantly, the Chinese Governments have imposed many strict rules and regulations as technical barriers to Thai imports, with obvious examples of Thai rice and Thai longan exports.

3.    Recommendations

1)      Private sector

Although Thailand, in general, has strong relationships with China, Thai private entrepreneurs should keep in mind some business facts, especially the fragmentation of the Chinese markets. Due to its huge area, China is administratively divided into various provinces, each of which is large and populated. Also, there are in each province an income inequality and differences in taste, patterns of consumption and expenses. The Chinese markets are, therefore, fragmented and diversified. In addition, transportation in China is costly and inconvenient while domestic distribution is still limited. More importantly, due to the decentralization system in China, its local and provincial governments possess relatively high administrative power. Therefore, Thai entrepreneurs should adopt a business strategy focusing on the niche markets at the regional or provincial levels where their products gain competitive advantage or economic potentials.

In addition, those Thai investors who already invest in China should cooperate and work in group or, if possible, form a formal business association by inviting some Thai and Chinese high-ranking officials or politicians to be their consultants and referees when having possible business disputes. Importantly, a group should have some legal advisors and all concerned Chinese regulations and laws should also be compiled and translated into Thai or English and distributed to all members.

2)      Government sector

To enhance its existing pro-active policies and measures on Sino-Thai economic relations, the current Thai government needs to be more cautious in proceeding and cleverly implementing those policies and measures in dealing with China. Thai officials involved should be trained and well prepared to conduct and implement those measures, especially learning Chinese language (Mandarin) and studying basic important information and knowledge in Chinese politics, economy and society. The well-trained Thai officials would hopefully implement the government’s policies and measures for the country’s best benefits as well as reduce unexpected or possible negative impacts. 

As a recommendation for a new dimension of Sino-Thai economic cooperation, based on the concept of geo-economics and Thailand’s geographical proximity to China, especially the Chinese expectations to use Thailand as a sea outlet for its inland provinces, Thailand should utilize the existing opportunity and potentials to enhance Thai-China economic relations on the ground of good understanding and mutual benefits, particularly in forging the economic ties with the Chinese western provinces. This approach is expected to receive the Chinese government’s attention due to the linkage with its national policy of the “Western China Development Strategy” launched in 2000.  The forms and patterns of this economic alliance include a bilateral agreement on trade and investment liberalization and facilitation, a joint cooperation in infrastructure development, especially transportation, and more importantly a joint investment in some industrial clusters that both sides have competitive advantages.

                Therefore, the economic linkages with Western China could help utilizing the existing economic potentials and complementarities between China and Thailand. These government’s policies and measures, in turn, could reduce transaction costs and expand business opportunities for business sectors in both countries to strengthen their economic relations as well as enhance their mutual benefits. In the long run, this increased economic cooperation would definitely spill over into other non-economic cooperation, namely increased social, cultural and political exchanges and communication between peoples in various terms such as technology, education, sciences and public health, and etc. Therefore, Sino-Thai closer economic linkages and alliance would eventually lead to a better understanding and a strengthened relationship between the two countries, which will benefit not only Thailand and China, but also other countries in the region as a whole.

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th