English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

ชื่อโครงการวิจัย              นโยบายการรวมประเทศของจีนและไต้หวัน

ผู้วิจัย                                     นายวิเชียร   อินทะสี

ปีที่ได้รับทุน                          2545

แหล่งทุน                               สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

บทคัดย่อ

 

                การศึกษานโยบายการรวมประเทศของจีนและไต้หวัน มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษานโยบายและแนวทางการรวมประเทศ ตามที่ผู้นำจีนและไต้หวันเสนอ ปัจจัยที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่อาจบรรลุฉันทามติ เพื่อดำเนินการรวมประเทศได้ และรวมถึงบทบาทของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ในประเด็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวันด้วย ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าในช่วงแรกที่จีนคอมมิวนิสต์สามารถสถาปนารัฐบาลขึ้นที่ผืนแผ่นดินใหญ่ได้ และจีนคณะชาติต้องอพยพมาตั้งมั่นที่เกาะไต้หวันนั้น แต่ละฝ่ายต่างก็อ้างว่าฝ่ายตนเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมของชาวจีนแต่เพียงรัฐบาลเดียว โดยทางจีนก็มุ่งที่จะใช้กำลังทางทหารเข้าผนวกดินแดนไต้หวัน ส่วนไต้หวันก็หวังที่จะกลับเข้าไปตั้งรัฐบาลในผืนแผ่นดินใหญ่แทนฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่สามารถดำเนินการตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาให้การปกป้องไต้หวันตามนโยบายสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่วนไต้หวันนั้นก็มีขีดความสามารถทางการทหารด้อยกว่า ฉะนั้นทั้งสองฝ่ายจึงได้ใช้วิธีการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยทางจีนมีเงื่อนไขให้ไต้หวันยอมรับในหลักการจีนเดียว เปิดโอกาสให้ไต้หวันคงระบบเศรษฐกิจและสังคมได้ ภายหลังจากที่มีการรวมตัวเข้าด้วยกันแล้ว แต่ทางไต้หวันถือว่าตนมีฐานะเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีฐานะทัดเทียมกันกับจีน โดยเฉพาะผู้นำไต้หวันที่ผ่านการเลือกตั้งมาจากประชาชน และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการแสดงนัยด้วยว่า จีนและไต้หวันต่างก็เป็นประเทศหรือรัฐด้วยกัน ซึ่งการแสดงท่าทีในลักษณะเช่นนี้ จีนถือว่าไต้หวันกำลังประกาศตัวเป็นเอกราช ซึ่งถือว่าขัดกับนโยบายจีนเดียว ที่ถือว่าไต้หวันเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของตน จีนจึงขู่ที่จะใช้วิธีการทางทหารเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา แต่จีนก็ไม่อาจที่จะดำเนินการเช่นนั้นได้ เพราะสหรัฐอเมริกามีข้อผูกมัดที่จะให้ความช่วยเหลือต่อไต้หวัน ถ้าหากจะมีการแก้ไขปัญหาไต้หวัน นอกเหนือวิธีการอันสันติ ปัญหาระหว่างจีนกับไต้หวันจะได้รับการแก้ไขในช่วงระยะเวลาใดนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายจะปรับท่าทีเข้าหากันอย่างไร และสหรัฐอเมริกายังจะมองไต้หวันเป็นจุดยุทธศาสตร์ของตนอีกยาวนานขนาดไหน

 

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th