English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   

 

ปีงบประมาณ 2544

 

ชื่อโครงการวิจัย             ระบบสารสนเทศเพื่อค้นหาวิสาหกิจที่เหมาะสมภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ

                                     ในคาบสมุทรอินโดจีน

ผู้ทำวิจัย                        รองศาสตราจารย์ไว  จามรมาน  คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ.

จำนวนหน้า                    231    หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

 

            ในปัจจุบันเวียดนาม พม่า กัมพูชา และ ลาว ล้วนเป็นประเทศที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดการค้าเสรี ซึ่งเป็นแนวทางการปรับตัวของประชากรต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นต่อการเอื้ออำนวยประโยชน์แก่กัน ซึ่งแสดงออกมาในทิศทางของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จากแนวคิดของไทยในการเปลี่ยนสนามรบในอิโดจีน ให้เป็นสนามการค้า ตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา ทำให้เกิดการประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวระหว่างกัน ทำให้เกิดแรงผลักดันในการพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบกฏหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงระบบภาษีอากรที่เป็นธรรมต่อนักลงทุนต่างชาติ การปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค

            ด้วยศักยภาพของกลุ่มประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ มีประชากรราว 240 ล้านคน และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศประมาณ 190 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ บนพื้นที่ 23 ล้านตารางกิโลเมตร พม่า ลาว กัมพูชายังเป็นดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก และหลากหลาย และเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพในการค้าและการลงทุนมาก

 

เวียดนาม

             เวียดนามได้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้การบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์ ในปี พ.. 2519 จนถึงปัจจุบัน มีการจัดตั้งสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของรัฐ เพื่อกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศจนปี พ.. 2539 ได้เริ่มมีการปรับปรุงกลไกทางการเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางด้านเศรษบกิจและกระจายอำนาจไปสู่ส่วนล่างเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษบกิจขั้นพื้นฐาน ในปี พ.. 2535 มีการใช้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อบริหารประเทศ การล่มสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยา ทำให้เวียดนามต้องปรับตัวโดยหันมาเน้นนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีช่วงระยะเวลา 5 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  ปี 2544-2548 มีวัตถุประสงค์เน้นการพัฒนาประเทศให้ทันต่อความเจริญของนานาประเทศ และพยายามผลักดันอุตสาหกรรมภายในประเทศให้ทันสมัย

            ในปัจจุบันเวียดนามมีความมั่นคงทางการเมือง และมีนโยบายสร้างบรรทัดฐาน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาประเทศ ตามแนวระบบเศรษฐกิจแบบตลาดการค้าเสรี มีจำนวนประชากรมากถึง 78 ล้านคน มีนโยบายส่งเสริมการลงทุน เรียกว่า นโยบาย Doi Moi หรือนโยบายปฏิรูปที่เน้นรูปเศรษฐกิจเป็นหลัก

            เวียดนามมีนโยบายพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตโดยเน้นพัฒนา 3 จังหวัด โดยพัฒนาหลักรอบ ๆ ฮานอย ดานัง และโฮห์จิมินห์ และเน้นพัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรมเบา เน้นนโยบายเศรษฐกิจแบบมหาภาค เพื่อส่งเสริมการผลิต เพื่อการส่งออกในเขตอุตสาหกรรม และเขตการแปรรูปเพื่อการส่งออก ขณะที่โครงสร้างอุตสาหกรรมของเวียดนามยังเน้นอุตสาหกรรมเบาที่เน้นแรงงานมีบทบาทมากที่สุด รัฐยังคงเป็นผู้ชี้นำการผลิต เน้นหลักในพื้นที่โฮห์จิมินห์ และ ฮานอย

            ศักยภาพสำหรับการลงทุนในระยะสั้นในเวียดนาม มักเป็น อุตสาหกรรมที่พึ่งพาทรัพยากรตามธรรมชาติ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางเกษตรกรรมและอาหาร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ อุตสาหกรรมที่ใช้ไม้เป็นพื้นฐาน วัสดุก่อสร้างและซีเมนต์ แกรนิต และปุ๋ย และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไร้ฝีมือ ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องหุ้มห่อเท้า ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ ของเล่นเด็ก เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่ใช้แรงงานฝีมือสูงและต่ำ นอกจากนั่นอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เซรามิกและผลิตภัณฑ์จากแก้ว เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเกษตรกรรมหัตถกรรม เพชร และอัญมณี

            ศักยภาพในการลงทุนในระยะกลางและระยะยาวในเวียดนาม มักเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยี และทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ อุตสาหกรรมอุปกรณ์ชิ้นส่วน อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ รถบรรทุกขนาดเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ พลาสติกและยาง เคมีภัณฑ์

            โอกาสในการลงทุนของวิสาหกิจไทย ในส่วนของอุตสาหกรรมที่เน้นทรัพยากรธรรมชาติ และอุตวสาหกรรมที่เน้นแรงงาน ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นทรัพยากรมนุษย์ ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยียังมีอีกหลายประเภที่สามารถใช้ทักษะและทรัพยากรมนุษย์ในเวียดนามได้

            เวียดนามมีมาตรการจูงใจสำหรับผู้ลงทุนในเขตอุตสหกรรมและการแปรรูปการส่งออก โดยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง 10% และเขตอุตสาหกรรมได้รับการยกเว้น 100% สำหรับ 2-4 ปี รวมกับการลดอีก 50% สำหรับ 0-4 ปี ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของการส่งออก มีเขตการแปรรูปเพื่อการส่งออก ซึ่งได้รับการยกเว้น 100% สำหรับ 4 ปี รวมกับการลดอีก 50% สำหรับ 4% เขตอุตสาหกรรมและเขตการแปรรูปเพื่อการส่งออก คิดภาษีเงินได้ 5% สำหรับกำไรทีโอนกับประเทศแม่

            เวียดนามมีแหล่งกำเนิดพลังงานชนิดที่สำคัญ ๆ ได้แก่ น้ำมีปริมาณ 2,875 เมกกะวัตต์ ก๊าซมีปริมาณ 1,758 เมกกะวัตต์ พลังงานความร้อนมีปริมาณ 788 เมกกะวัตต์ ส่วนน้ำมันดีเซลและอื่นๆ มีปริมาณ 383 เมกกะวัตต์

            ตลาดในประเทศจัดว่ามีขนาดใหญ่ มีแหล่งที่ตั้งมรดกโลกที่เว้ มีแหล่งน้ำที่พอเพียง ขาดพื้นที่ราบที่หนาแน่น มีกำลังไฟฟ้าพอเพียง มีท่าเรือที่เป็นทางออกไปสู่ทะเลโดยตรง ชายฝั่งทะเลมีขนาดยาว เป็นแหล่งที่มีสัตว์น้ำชุกชม มีการปลูกข้าวในปริมาณสูง เนื่องจากการทำชลประทาน พื้นที่ของการเกษตรมีขนาดเล็ก และมีปริมาณผลผลิตน้อย ต้นทุนสูงต่อการผลิตในพื้นที่เกษตรกรรม ที่ดินมีราคาสูง บางพื้นที่ประสบปัญหาจากพายุใต้ฝุ่นและน้ำท่วม

            ทุนในประเทศมีอยู่บ้าง โดยมีข้อจำกับในการเข้าถึงทุนของต่างชาติ รัฐวิสาหกิจมีบทบาทครอบงำและได้สิทธิพิเศษในการเข้าถึงทุน ธุรกิจการลงทุนในอุตสาหกรรมของต่างชาติ หลายแห่งล้มเหลว

            แรงงานมีฝีมือมีจำนวนน้อย แต่สามารถหาแรงงานมีผีมือทางเทคนิคได้บ้างแต่บทบาทของรัฐวิสาหกิจและองค์กรของรัฐมักจะทำให้มีผลลบต่อการเพิ่มประเสิทธภาพทางฝีมือแรงงาน ส่วนภาคเอกชนมีบทบาทน้อย อัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่มีสัดส่วน 65 % กำลังแรงงามร 32.7 ล้านคน อัตราการว่างงานมีสัดส่วน 5.7 % อัตราการเข้าโรงเรียนในชั้นมัธยมศึกษามีสัดส่วน 59% อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 1.50 –1.70 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

            เทคโนโลยีแปรรูปหลักการเก็บเกี่ยวกับมักไม่มีการพัฒนา ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานจากการเกษตรสู่ตลาด ขาดการพัฒนา คุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเกษตร ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ระบบของการแข่งขันไม่ขยายตัว เช่น จากประสิทธิภาพที่ต่ำ และค่าใช้จ่ายที่สูง ของรัฐวิสาหกิจในจังหวัดต่างๆ สหกรณ์และกิจการขนาดใหญ่มีจำนวนน้อย ตลาดในประเทศมีขนาดใหญ่ แต่มีกำลังซื้อที่ต่ำ ค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าสูง

            สำหรับในเวียดนามแล้วการคิดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรม เป็นจำนวน 0.041-0.044 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตรชั่วโมง ขณะที่ค่าน้ำมันสำหรับอุตสาหกรรมคิดเป็นเงิน 0.24 ดอลลาร์สหรัฐต่อลูกบาสก์เมตรและ ในเวียดนามมีเขตนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 64 แห่ง เขตแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมที่มีขนาดเบา สำหรับตลาดภายในประเทศ และการผลิตเพื่อการส่งออก เมื่อพิจารณาในแง่ปัจจัยกำลังการแข่งขันทางอุตสาหกรรม มีแรงงานรองรับอย่างพอเพียง ณ อัตราค่าจ้างที่ต่ำ

            สำหรับอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนในเวียดนาม ทางด้านการเงินมีอัตราแลกเปลี่ยนสูงเกิน และเศรษฐกิจถูกครอบงำโดยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ อุปสรรคด้านการนำเข้าต้องผ่านช่องทางขององค์กรรัฐบาล มีการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบ และการไม่สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้ ขาดมาตรฐานในการประเมินราคา ส่วนการส่งออกมีอุปสรรค คือ ขาดข้อมูลข่าวสารทางตลาด การส่งออก และราคา ขาดสิ่งสนับสนุนการลงทุนในการส่งออกและขาดการช่วยเหลือสำหรับผู้ส่งออก

            สำหรับการค้าภายในประเทศ มีอุปสรรคในเรื่องของความไม่สมเหตุสมผล ของเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศด้วยกันเอง ส่วนการลงทุนมีอุปสรรคในเรื่องของ มีการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบ และการไม่สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้จะมีปัญหาเรื่องแรงงานไร้ฝีมือ และความสามารถถูกจำกัด และการนำเสนอแบบแผนการจูงใจในการลงทุน เวียดนามยังไม่มีการประกันการให้สินเชื่อเพื่อส่งออก และการสนับสนุนการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก และการช่วยเหลือเพื่อพัฒนาสำหรับผู้ส่งออก

            สิ่งจูงใจในการมาลงทุนโดยตรงของต่างชาติ ได้แก่ ไม่มีมาตรการในการกีดกันทางการลงทุน และไม่มีภาคการลงทุนใดถูกปิด มีการขัดขวางการเป็นเจ้าของกิจการที่มีรัฐวิสาหกิจ ส่วนผู้ลงทุนชิ้นส่วนหรือวัตถุของท้องถิ่น มีการให้สิทธิพิเศษสำหรับการส่งออก มีการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน โดยมีข้อจำจัดเพื่อมาตรการทำให้การแลกเปลี่ยนเงินตรามีความสมดุลย์ มีการเข้มงวดกับอุตสาหกรรมบางสาขา ผู้มีอำนาจรัฐแต่ละจังหวัดเป็นผู้อนุญาตในการลงทุน และมีการปกป้องผู้ผลิตท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐวิสาหกิจโดยการจำกัดทางการค้า

 

พม่า

            ในอดีตพม่าได้ใช้นโยบายโดดเดี่ยวตนเองและไม่ยุ่งเกี่ยวกับโลกภายนอก แต่ในปัจจุบันพม่าไม่สามารถกลับไปสู่การแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวอย่างในอนดีได้อีกแล้ว เนื่องจากความกดดันทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่พม่าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก รวมถึงการเข้าเป็นสมาชิกของอาเชียน ในปี 2540  เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และคุ้มกันสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง แม้พม่าจะมีรัฐบาลที่บริหารประเทศมานาน 36 ปี แล้วก็ตาม แต่พม่าก็ยังมีปัญหาการต่อต้านจากชนกลุ่มน้อยอยู่เสมอ ซึ่งทำให้สถานการณ์ภายในประเทศไม่สงบนิ่ง

            พม่ามีนโยบายอุตสาหกรรมทางด้านการผลิตโดยเน้น กฏหมายสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมเอกชนในปี พ.. 2533 เพื่อรองรับการลงทุนของเอกชน และการลงทุนโดยตรงของต่างชาติ มีการจูงใจเพื่อให้เกิดการผลิตสำหรับส่งออก เพียงแต่ยังขาดความชัดเจนในกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของชาติ

            ส่วนโครงสร้างอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร โดยยังเน้นอุตสาหกรรมที่พึ่งพาทรัพยากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

            สำหรับศักยภาพการส่งออกและการจัดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ธุรกิจสำหรับการส่งออกยังมีจำนวนน้อย และมีการลดลงของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และวิกฤตการณ์ของรัฐ

            ส่วนการแข่งขันด้านแรงงาน ระดับของผลผลิตยังอยู่ในขั้นต่ำ ส่วนระดับของฝีมือแรงงานถือว่าทัดเทียมกับไทยและเวียดนาม

            สำหรับศักยภาพในการลงทุนในระยะสั้น พบว่าเป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ได้ อุตสาหกรรมแปรรูปทางเกษตรกรรมและอาหาร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ อุตสาหกรรที่ใช้ไม้เป็นพื้นฐาน วัสดุก่อสร้างและซีเมนต์ แกรนิต ปุ๋ย

            ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไร้ฝีมือ ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องหุ้มห่อเท้า ผลิต หนังสัตว์ กลุ่มของเล่นเด็ก และเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่ใช้แรงงานฝีมือสูงและต่ำ  และอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ สำหรับศักยภาพระยะกลางและระยะยาว การลงทุนจะเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมอุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุกขาดเบา เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ พลาสติกและยาง อุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้ก๊าซจาก ชายฝั่งเป็นพลังงานในการผลิตปุ๋ยและเคมีภัณฑ์

            โอกาศสำหรับการลงทุนของวิสาหกิจไทนในส่วนที่เน้นทรัพยากรธรรมชาติได้แก่ อุตสาหกรรมที่เน้นทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ สัตว์เป็นตัว เงินและแร่พลาสตินั่ม ไม้อัดและเคลือบ ผลิตภัณฑ์จากไม้ อัญมณี

            ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นทรัพยากรมนุษย์ ได้แก  เฟอร์นิจิร์และเครื่องประดับตกแต่ง เครื่องนุ่งห่มสิ่งทอ สินค้าอุปโภคบริโภค

            อุตสาหกรรมที่เน้นทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ เครื่องจักรเกษตรกรรม ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยี ได้แก่ อุปกรณ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจัยด้านแรงงานไร้ฝีมือมีจำนวนมากมายและค่าแรงต่ำ (ค่าแรงต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าแรงไทย) จนบางฤดูกาลอาจจะขาดแคลนแรงงานในการเพาะปลูกยาง การท่องเที่ยวและการโรงแรม

            พม่ามีมาตรการจูงใจในการลงทุนโดยตรงของต่างชาติโดยให้ความสำคัญกับการไม่มีมาตการกีดกั้นการลงทุนของต่างชาติ แต่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของ ๆ ชาวต่างชาติบางอุตสาหกรรมต้องมีการใช้ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบท้องถิ่น ส่วนกลางควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศ มีข้อควบคุม ดังนี้ มีการดำเนินการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารกลาง โดยคณะกรรมการควบคุมอัตรแลกเปลี่ยนเป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศสำหรับภาครัฐ ระบบเงินคู่ขนาน (ใบสำคัญแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ) ช่วยไม่ให้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงเกินไป การจ่ายเงินสำหรับการนำเข้าที่ไม่ผ่านชายแดน จะกระทำได้โดยผ่านธนาคารเอกชน ในประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราได้

            พม่ามีมาตรการยกเว้นการเก็บภาษีสำหรับเครื่องจักรและวัตถุดิบที่นำเข้าโดยการนำเข้าต้องขออนุญาตทุกรายการ ยกเว้นรายการที่ถูกยกเว้น ใบอนุญาตการนำเข้าสามารถเป็นไปได้ตามในรายการที่ระบุ (สินค้าที่จำเป็น) และรายการที่ระบุ (สินค้าที่ไม่จำเป็น) และสินค้าทั่วไป ผู้นำเข้าในรายการสินค้าที่จำเป็นจะจ่ายภาษีในราคาที่ 50 % และ 25 % ของมูลค่าราคาสินคาตามลำดับ ผู้ร่วมลงทุนหรือนักลงทุนต่างชาติ อาจได้รับการยกเว้นจากกฏเกณฑ์นี้ โดยการขออนุญาตเป็นกรณีไป พม่าไม่มีมาตรการในการกัดกันการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ แต่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของของชาวต่างชาติ บางอุตสาหกรรมต้องมีการใช้ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบท้องถิ่น

            การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศ มีการดำเนินการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารกลาง โดยคณะกรรมการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน เป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศ สำหรับภาครัฐ ส่วนระบบเงินคู่ขนาน (ใบสำคัญแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ) ช่วยไม่ให้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงเกินไป ส่วนการจ่ายเงินสำหรับการนำเข้าที่ไม่ผ่านชายแดน จะกระทำได้โดยผ่านธนาคารเอกชนภายในประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราได้

            มีการเข้มงวดกับอุตสาหกรรมบางสาขา การรวมศูนย์อนุญาตการลงทุนนั้นต้องผ่านคณะกรรมการการลงทุนในพม่า ค่าแรงขั้นต่ำคิดเป็นเงิน 0.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ค่าบริการโทรศัพท์ 0.75 ดอลลาร์สหรัฐต่อนาทีถึงไทย ค่าเช่าที่ดินในการใช้โรงงาน คิดเป็น 2.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตรต่อปี ค่าธรรมเนียมของการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในโรงงานอุตสาหกรรม คิดเป็น 0.80 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อกิโลวัตชั่วโมง

            พม่ายังขาดแคลนเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังคงใช้เทคโนโลยีแบบเก่า ๆ ขาดแคลนอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตและบริการ ขาดแคลนแหล่งเงินทุนอย่างมาก ต้นทุนในที่ดินเกษตรกรรมต่ำ ปริมาณน้ำที่ใช้มีเพียงพอ แรงงานขาดทักษะความชำนาญ ในการจัดการ การใช้เทคโนโลยี แต่แรงงานสามารถฝึกอบรมเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ และมีแหล่งแรงงานที่สมบูรณ์

            ในพม่าพื้นที่มีขนาดใหญ่และมีทรัพยากรหลากหลายเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศ โดยมีชายฝั่งทะเลที่ยาวเหยียด และมีทรัพยากรทางทะเลมาก มีการส่งข้าวออกเป็นหลัก มีป่าไม้ ศักยภาพทางชนิดของพืชผลมีหลากหลาย มีศักยภาพการลงทุนในอุตสาหกรรม เกษตรกรรมสูง

            เศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนเป็นของเอกชน รัฐวิสาหกิจอยู่ในฐานะครอบงำ มีกฏข้อบังคับจำกัดหลายอย่าง มีความเข้มงวดในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และอัตราดอกเบี้ยติดลบ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน

            การแปรรูปมีน้อยและใช้เทคโนโลยีเก่ามีการลงทุนจากต่างชาติน้อย รัฐวิสาหกิจมีกำลังการผลิตเกินตัว การผลิตเน้นเฉพาะในบางท้องถิ่น ข้อจำกัดในการส่งออกทำให้ตลาดมีขนาดจำกัด

            สามารถจัดหาแรงงานมีฝีมือทางเทคโนโลยีบางอย่างได้ แต่บางพื้นที่ต้องอาศัยการเคลื่อนย้ายของฝีมือแรงงาน ระดับค่าจ้างแรงงานถูกอาจมีการอพยพแรงงานไปสู่ประเทศอื่นได้ ส่วนแรงงานไร้ฝีมือมีจำนวนมากมายและค่าแรงต่ำ จำนวนแรงงานมีทั้งสิ้น 19.7 ล้านคน อัตราการว่างงาน 7.0% พม่ามีนิคมอุตสาหกรรมจำนวน 23 แห่ง และส่วนอุตสาหกรรม 3 แห่ง

            อุปสรรคทางการค้าและการลงทุน มีเงินเฟ้อสูง ธนาคารไม่เพียงพอที่อำนวยความสะดวกทั้งการเงินในประเทศและต่างประเทศ ขาดแคลนการให้เงินกู้ระยะยาว และดอกเบี้ยภายในสูง

            ส่วนการนำเข้ามีอุปสรรค คือ การประเมินราคาขึ้นอยู่กับราคาตลาดเสรีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอิสระ ขาดมาตรฐานในการประเมินราคาในส่วนการส่งออกมีอุปสรรค คือ ขาดข้อมูลข่าวสารทางการตลาด การส่งออกและราคา ขาดเงินทุนทางการส่งออก และขาดการช่วยเหลือสำหรับผู้ส่งออก

            ส่วนการค้าภายในประเทศมีอุปสรรค คือ กระบวนการตรวจเช็คของด่านศุลกากรทีอืดอาด มีข้อจำกัดของปริมาณสินค้าส่งออก ขาดข้อมูลข่าวสารทางการค้า ของปริมาณสินค้าและราคาสินค้า

            ส่วนการลงทุนมีอุปสรรค ดังนี้ ขาดแรงจูงใจ (อัตราดอกเบี้ยที่สูงเป็นพิเศษ) มีความไม่แน่นอนทางการเมือง มีการเปลี่ยนกับไปกับมาของกฏระเบียบ ส่วนการลงทุนในประเทศ มีอุปสรรคดังนี้ ขาดแคลนสิ่งสาธารณูปโภค แรงงานไร้ฝีมือ มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และมีต้นทุนสูง ในด้านการบริการโทรคมนาคม ขาดแคลนสิ่งสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น โทรคมนาคม

           

กัมพูชา

             กัมพูชาโดยสภาพภูมิศาสตร์กายภาพ มีความได้เปรียบหลาย ๆ ประเทศในกลุ่มอินโดจีน โดยเฉพาะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงอัลลูเวียล ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ และมีทะเลสาปเขมา ซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางประเทศ และมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน ส่วนทรัพยากรธรรมชาติ พวกแร่ธาตุต่างๆ และป่าไม้ มีไม่มากนัก แต่มีกำลังดำเนินการอยู่ ได้แก่การขุดเจาะ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โครงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบา ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนแก่ต่างชาติ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ มีการให้สัมปทาน

            อุตสาหกรรมสิ่งทอในกัมพูชา มีลักษณะการสั่งตัดเย็บจากต่างชาติ และมักจะเป็นตลาดล่าง โดยจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนโดยส่วนใหญ่ ได้แก่ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และเกาหลี

           

สปป.ลาว

             สำหรับนโยบายอุตสาหกรรมในลาวยังมีความไม่ชัดเจนของนโยบายภาครัฐ แต่จูงใจให้มีการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ส่วนโครงสร้างอุตสาหกรรมยังพึ่งพาอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น สิ่งทอ และอุตสาหกรรมหลายอย่างยังไม่ได้รับการพัฒนา ส่วนศักยภาพการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ มีการลดลงอย่างรุนแรงในภาคธุรกิจขนาดเบาเพื่อการส่งออก และการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ส่วนการแข่งขั้นด้านแรงงาน ทักษะและผลผลิตอยู่ในระดับต่ำ การขาดแคลนแรงงานอยู่ในขั้นวิกฤติของทักษะและผู้ชำนาญในทุกระดับของภาคธุรกิจ

            สปป. ลาว มีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกสิกรรม ป่าไม้ สินค้าที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า อุตสาหกรรมในลาวส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรทีสำคัญที่สุด และมีการผลิตสินค้าวัสดุโภค-บริโภค

            อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าในลาว เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญในปัจจุบัน โดยมีการลงทุนด้านนี้มาก เพราะได้รับ GSP ในการส่งสินค้าไปยังกลุ่มตลาดร่วมยุโรป

            ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ในลาวยังขาดความทักษะความชำนาญในการจัดการการใช้เทคโนโลยี ขาดวัฒนธรรมโรงงาน ผลผลิตต่ำ แรงงานสำรองดี มีแหล่งแรงงานที่สมบูรณ์

            อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในระยะสั้น ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมแปรรูปทางเกษตรกรรมและอาหาร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ 2. อุตสาหกรรมที่ใช้ไม้เป็นพื้นฐาน 3. วัสดุก่อสร้างและซีเมนต์ แกรนิต ปุ๋ย อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไร้ฝีมือ ได้แก่ 1. สิ่งทอ เครื่องหุ้มห่อเท้า ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ 2. ของเล่นเด็ก 3. เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่ใช้แรงงานฝีมือต่ำ ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ อุตสาหกรรมอุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุกขนาดเบา

            ศักยภาพในระยะกลางและระยะยาว ได้แก่ 1. ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 2. เซรามิคและผลิตภัณฑ์จากแก้ว 3. เคมีภัณฑ์ 4. อุปกรณ์เครื่องมือเกษตร

            อุปสรรคทางการค้าและการลงทุนในลาวทางด้านการเงิน ได้แก่ เงินเฟ้อสูง ธนาคารมีไม่เพียงพอที่จะอำนวยความสะดวก ทั้งการเงินในประเทศและต่างประเทศ ขาดแคลนการใช้เงินกู้ระยะยาว และอัตราดอกเบี้ยภายในสูง

            ส่วนการนำเข้ามีอุปสรรค ดังนี้ ต้องใช้โควต้าการนำเข้า และการนำเข้าต้องเป็นไปตามเป้าหมาย การนำเข้าและส่งออกต้องตามใบอนุญาตสำหรับภาคเอกชน ขาดมาตรการในการประเมินราคา

            ส่วนการส่งออกมีอุปสรรค ดังนี้ สินค้าไม่สามารถแข่งขันได้เพราะเป็นประเทศที่ถูกปิดล้อมด้วยแผ่นดิน ขาดข้อมูลข่าวสารทางการตลาด การส่งออก และราคา ขาดสถาบันส่งและขาดข้อมูลข่าวสารทางการค้า ของปริมาณสินค้าและราคาสินค้า

            ส่วนการค้าภายในประเทศมีอุปสรรค ดังนี้ มีข้อจำกัดของปริมาณสินค้าส่งออกและขาดข้อมูลข่าวสารทางการค้า ของปริมาณสินค้าและราคาสินค้า

            ส่วนการลงทุนมีอุปสรรค ดังนี้ 1. ขาดแรงจูงใจ (อัตราดอกเบี้ยที่สูงเป็นพิเศษ) 2. ขาดแคลนแหล่งเงินทุนจากการเงินระยะยาว และอัตราดอกเบี้ยภายในสูง 3. มีระบบการเงินและระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนแอ

            ด้านการลงทุนในประเทศมีอุปสรรค ดังนี้ 1. กำลังแรงงานมีจำนวนน้อย 2. แรงงานไร้ฝีมือ 3. แรงงานขาดการศึกษา ที่เฉพาะเจาะจง และการฝึกอบรมเฉพาะด้าน อีกทั้งขาดการวิจัยและพัฒนา 4. ขาดแคลนสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐาน

            โดยภาพรวมภูมิภาคนี้มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งลาว มีความอุดมสมบูรณ์ด้านป่าไม้ และแร่ธาตุ ซึ่งยังมิได้นำมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก ขณะที่เวียดนาม พม่า และกัมพูชา มีปริมาณน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตจะเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรเป็นหลัก และเน้นการใช้แรงงาน ซึ่งแรงงานในปัจจุบันเป็นแรงงานด้อยฝีมือ ส่วนทางด้านการค้า เป็นการพึ่งพาระหว่างกันทางเศรษฐกิจ โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ มีการค้าชายแดนเป็นหลัก โดยไทยกับเวียดนามมีการค้าติดต่อกันด้านแปรรูปผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากไม้ และอัญมณี ส่วนไทยกับพม่ามีการค้าติดต่อกันด้านปศุสัตว์ แปรรูปอาหาร แปรรูปสัตว์น้ำ สินค้าพลาสตินั่ม และผลิตภัณฑ์จากไม้และป่าไม้ ส่วนไทยกับกัมพูชามีการค้าติดต่อกันด้าน ส่วนไทยกับลาวมีการค้าติดต่อกันด้านอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ปุ๋ย ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากไม้และป่าไม้ ส่วนการค้าโดยตรงกับต่างชาติ มักเป็นการนำเข้าสินค้าทุน และส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ และน้ำมัน

            ปัญหาที่เป็นอุปสรรคโดยรวมที่สำคัญ ๆ ได้แก่ นโยบายการส่งเสริมการลงทุนสำหรับต่างชาติ ที่ยังขาดความชัดเจนเพียงพอ และกฎหมายที่จะมารองรับการลงทุนด้านต่างๆ ซึ่งยังล้าสมัย ขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เท่าเทียมกันในพื้นที่แต่ละประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศเหล่านี้ที่ยังไม่ชัดเจนพอ ในลาวมีจำนวนประชากรน้อยการลงทุนเหมาะสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก สิ่งทอ ซึ่งลาวได้รับสิทธิพิเศษ GSP จากกลุ่มสหภาพยุโรป และการลงทุนการขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ และป่าไม้ ในพม่าดำเนินระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีการวางแผนจากรัฐบาลกลาง (รัฐบาลทหาร) ทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีการกระจายอย่างเสรี เอกชนถูกควบคุมและไม่ค่อยมีบทบาททางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th