English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   

 

ปีงบประมาณ 2542

 

ชื่อโครงการวิจัย           การศึกษาเปรียบเทียบการย้ายถิ่นของแรงงานระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น

ผู้วิจัย                          นายสุทิน  สายสงวน

ปีที่แล้วเสร็จ                2545      จำนวนหน้า   45          หน้า

 

บทคัดย่อ

 

รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการย้ายถิ่นของแรงงานระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น(The Comparative Study of Labor Migration between Thailand and Japan) โดยนายสุทิน  สายสงวนเสนอต่อ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ..2545

 

คำสำคัญ(Keywords)  การย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติ (International Labor Migration);  การย้ายถิ่นข้ามชาติของแรงงานของประเทศไทย (Thailand’s International Labor Migration);  การย้ายถิ่นข้ามชาติของแรงงานของประเทศญี่ปุ่น (Japan’s International Labor Migration);  การศึกษาเปรียบเทียบการย้ายถิ่นของแรงงาน (The Comparative Study of Labor Migration)

 

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การคมนาคมขนส่ง  โทรคมนาคม และการสื่อสารมวลชนข้ามชาติในปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่า ยุคโลกาภิวัฒน์ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมอย่างใหญ่หลวง  จะเห็นได้ว่า การแพร่หลายของข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆด้วยเครือข่ายสื่อสารมวลชนข้ามชาติ  การคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะทางอากาศที่สะดวกปลอดภัยและประหยัดขึ้น ตลอดจนความคลี่คลายทางด้านการเมืองระหว่างประเทศได้ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทุกระดับชั้นให้กว้างขวางขึ้น  การปฏิสังสรรค์ทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติต่างๆเกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน นำไปสู่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้วยการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ   ในที่สุดพัฒนาเข้าสู่กลุ่มพันธมิตรทาง การค้าการลงทุนเสรีในภูมิภาคต่างๆ ของโลก   ซึ่งเกิดการเคลื่อนย้ายทุน เทคโนโลยี ตลอดจนการย้ายถิ่นข้ามชาติของประชากรแผ่ไปทั่วทุกมุมโลก   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรษัทข้ามชาติและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมโลกแบบพึ่งพาได้ก่อให้เกิดการแบ่งงานกันทำในระดับโลก  เนื่องจากประเทศต่างๆ ซึ่งมีภูมิรัฐศาสตร์และภูมิศาสตร์เศรษฐกิจแตกต่างกันได้รับการกำหนดให้ผลิตสินค้าและบริการที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ จึงเกิดการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างแพร่หลาย    จะเห็นได้ว่า ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การส่งออกแรงงานและนำเข้าแรงงานข้ามชาติเกิดขึ้นทั่วไป   กรณีประเทศไทย ถ้าหากไม่นับรวมแรงงานย้ายถิ่นจากประเทศเพื่อนบ้านแล้ว พบว่า แรงงานชาวญี่ปุ่นที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีมากที่สุดเกินกว่าหนึ่งในห้าของแรงงานต่างชาติทั้งหมด    ขณะเดียวกันแรงงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศประมาณครึ่งล้านคนซึ่งประมาณหนึ่งในสิบทำงานในประเทศญี่ปุ่น  เป็นต้น  เนื่องจากการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อประเทศที่นำเข้าและประเทศที่ส่งออกแรงงานข้ามชาติขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและการบริหารจัดการของแต่ละประเทศ  ดังนั้น การกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศพันธมิตรทั้งสอง  จำเป็นต้องจัดเก็บ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมและรูปแบบการทำงานทั้งหมดของประเทศนั้นๆ 

 การศึกษาเปรียบเทียบการย้ายถิ่นของแรงงานระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นมีวัตถุประสงคเพื่อศึกษารูปแบบการทำงานของแรงงานย้ายถิ่นจากประเทศไทยเข้าไปทำงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น และแรงงานญี่ปุ่นที่ย้ายเข้ามาทำงานในประเทศไทยในลักษณะของการศึกษาเปรียบเทียบใน ปี พ.. 22523 (.. 1980) และ พ.. 2533 (.. 1990)   ใช้ระเบียบวิธีวิจัย-การวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เชิงพรรณนา  ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้

1.    ภาพรวมและรูปแบบการทำงานของแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น

2.    ภาพรวมและรูปแบบการทำงานของแรงงานญี่ปุ่นในประเทศไทย

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th