English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   

 

ปีงบประมาณ 2542

 

ชื่อโครงการวิจัย           นโยบายการรวมเกาหลี : พัฒนาการและแนวโน้มในทางปฏิบัติ

ผู้วิจัย                              นายวิเชียร    อินทะสี

จำนวนหน้า                      241  หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการและแนวโน้มของนโยบายการรวมเกาหลี นับตั้งแต่ประเทศเกาหลีถูกแบ่งแยก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา รวมถึงการศึกษาบทบาทของประเทศมหาอำนาจที่มีส่วนสำคัญในการแบ่งแยกประเทศเกาหลีว่า ได้แสดงบทบาทสำคัญอะไรที่จะช่วยให้เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้มารวมตัวเป็นประเทศเดียวกัน

            ผลจากการศึกษาพบว่า เกาหลีถูกแบ่งแยกออกเป็นสองประเทศนั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประเทศมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ประสบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีเป้าหมายเพื่อดำเนินการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น แต่เมื่อภายหลังจากภารกิจดังกล่าวเสร็จสิ้น          สหภาพโซเวียตซึ่งเป็นผู้ยึดครองดินแดนเกาหลีส่วนเหนือ และสหรัฐซึ่งยึดครองดินแดนเกาหลีส่วนใต้ ก็ไม่อาจหาข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อปกครองเกาหลีใต้ ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งในช่วงเริ่มต้นยุคสงครามเย็นได้ทวีมากขึ้น เกาหลีจึงถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศอย่างถาวร โดยต่างฝ่ายก็อ้างว่าฝ่ายตนเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมของชาวเกาหลีแต่เพียง   รัฐบาลเดียว

            สงครามเกาหลีที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ.1950-1953 ถือเป็นผลแห่งความพยายามประการหนึ่งของเกาหลีเหนือที่จะดำเนินการรวมประเทศโดยใช้กำลังทหาร แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ หลังจากนั้นมา ทั้งสองฝ่ายต่างก็เสนอแนวทางหรือแนวนโยบายเพื่อการรวมประเทศ แต่ก็ไม่อาจหาข้อยุติร่วมกันได้ เพราะทั้งสองต่างมีความแตกต่างกันทางด้านอุดมการณ์และสังกัดอยู่คนละขั้วอำนาจ ต่อมาเมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ ซึ่งให้การหนุนหลังเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ผ่อนคลายลง เกาหลีทั้งสองจึงได้มีโอกาสเจรจาและทำความตกลงอย่างเป็นทางการขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นแนวทางในการรวมประเทศ ดังปรากฎในแถลงการณ์ร่วมเหนือ-ใต้ ค.ศ.1972

            ต่อมาภายหลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ผู้นำทางการเมืองทั้งของฝ่ายเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างก็ยังคงเสนอแนวทางหรือแนวนโยบายเพื่อการรวมประเทศอยู่ แต่ที่ถือว่ามีความรุดหน้าอย่างสำคัญก็คือ การที่เกาหลีทั้งสองบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการสร้างความปรองดอง การไม่รุกรานกัน การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือ ดังปรากฎในความตกลงเบื้องต้นเหนือ-ใต้ ค.ศ.1992 อย่างไรก็ตาม บรรดาความตกลงที่เกาหลีทั้งสองกระทำร่วมกัน ยังไม่ได้มีการนำไปดำเนินการให้เป็นผลในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะความแตกต่างทางด้านระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของเกาหลีทั้งสองเอง รวมถึงการมีประเทศมหาอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

            สหรัฐและสหภาพโซเวียตถือเป็นประเทศมหาอำนาจ ผู้มีบทบาทสำคัญในการแบ่งแยกประเทศเกาหลี แต่ในปัจจุบัน (ค.ศ.1999) ยังคงมีแต่เพียงสหรัฐเท่านั้น ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับปัญหาเกาหลีเพราะภายหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว รัสเซียก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาเกาหลีมากนัก ส่วนจีนในฐานะที่เป็นพันธมิตรดั้งเดิมของเกาหลีเหนือ และญี่ปุ่นซึ่งถือว่าใกล้ชิดกับฝ่ายเกาหลีใต้ ค่อนข้างจะพึงพอใจกับประโยชน์ที่ได้รับ จากการที่เกาหลียังคงแบ่งออกเป็นสองประเทศ สำหรับแนวโน้มในอนาคต การอยู่ร่วมกันอย่างสันติของเกาหลีทั้งสอง ถือว่าเป็นความสำคัญลำดับแรกมากกว่าการที่เกาหลีทั้งสองจะรวมเป็นประเทศเดียวกันในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ก็เพราะการรวมประเทศจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาอีกพอสมควร สำหรับการที่ระบบของทั้งสองประเทศจะมีการปรับเข้าหากัน ส่วนการรวมประเทศที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดนั้น คงขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของผู้นำทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เป็นสำคัญ

 

Abstract

             This research aimed to study the development of Korean unification policies that have been formulated since Korea was divided after the end of the World War II, and to analyze their prospects for implementation.  The analysis also focused the roles of Great Powers which played an influential role in dividing Korea in the past will take action to help North and South Korea to unify in the future.

            The study found that the partition of Korea was mainly decided not by Korean people but by the United States and the Soviet Union to disarm Japanese Forces.  After their mission fulfilled the United States and the Soviet Union could not make any resolution how to establish an independent administration to govern Korea.  At last the southern part occupied by the United States set up a government after a general election under the supervision of the United Nations while a Communist regime was founded in the North under control of the Soviet Union.  Each other declared it was a legitimate government for all Korean people.

            The outbreak of Korean War in 1950 was deemed an effort of the North to unify the South by force.  After the war each part has proposed a multitude of policies and approaches to unify country but none of them has been accepted by another due to their differences in ideological, economic and political system.  In the 1970s a rapprochement between China and the United States was greatly conducive North and South Korea to negotiate and both sides later reached an agreement known as a South-North Communique July 4, 1972 which paved the way for peaceful unification but it has not been implemented until now.

            After the end of the Cold War political leaders in the North and South still have proposed policies to unify country.  However there is no proposed policy that has been accepted.  In the early 1900s the tensions between two countries began to ease when they reached an Agreement on Reconciliation, Nonaggression and Exchanges and Cooperation between the South and the North or known as the South-North Basic Agreement 1992.  Since then an agreement has not been put in action yet.  The two states still have some conflicts that have not been resolved since the Korean War and Great Powers are also involved so it is hard put to make any consensus between them.

            At the present there is only the United States that plays the pivotal roles on Korean questions while Russian influences lessened after the Soviet collapse.  Both China, a traditional ally of North Korea, and Japan which has close relations with South Korea, enjoy their national interests from divided Korea.  In the short period that the North and the South can reduce tensions and coexist peacefully will be the first priority that Great Powers concerned.  In terms of Korean unification in the long run it must largely depend on the intentions of the two Koreas.

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th