English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

ปีงบประมาณ 2539

 

ชื่อโครงการวิจัย              การศึกษารูปแบบการทำงานกับเด็กติดเชื้อเด็กป่วยเป็นเอดส์และครอบครัวในประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย

ชื่อผู้ทำวิจัย                    รศ.วันทนีย์  วาสิกะสิน    และ ผศ.สุดสงวน  สุธีสร

จำนวนหน้า                    71  หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

 

            การศึกษาการเปรียบเทียบรูปแบบการทำงานกับเด็กติดเชื้อ  เด็กป่วยเป็นเอดส์และครอบครัวในประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย   เป็นการศึกษาเพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการให้บริการกับเด็กติดเชื้อเด็กป่วยเป็นเอดส์   อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 14 ปี และครอบครัวที่มีการดำเนินงานโดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย และประเทศออสเตรเลีย และศึกษาเปรียบเทียบบริการของทั้งสองประเทศว่ามีความแตกต่างหรือมีความคล้ายคลึงกันอย่างไรและประการสุดท้าย เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับบริการของทั้งสองประเทศ ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบการให้บริการกับเด็กติดเชื้อเด็กป่วยเป็นเอดส์และครอบครัวในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 ประการคือ การให้บริการกับเด็กในกรณีที่บิดาหรือมารดามีชีวิตอยู่ บริการที่ให้ได้แก่ การรักษาพยาบาล การสงเคราะห์ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ การให้คำปรึกษา การให้ทุนการศึกษา หรือให้ทุนสงเคราะห์บิดามารดาในการประกอบอาชีพ ประการที่สอง การให้บริการกับเด็กในกรณีที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต มีบริการในเรื่องการหาครอบครัวบุญธรรมหรือครอบครัวอุปการะ กรณีที่ไม่มีญาติพี่น้องดูแล การให้คำปรึกษา การให้ทุนการศึกษ การเตรียมชุมชนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ สำหรับรูปแบบการให้บริการเด็กติดเชื้อเด็กป่วยเป็นเอดส์และครอบครัวในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีจำนวนเด็กติดเชื้อเด็กป่วยเป็นเอดส์น้อยมาก เพราะกลุ่มที่ป่วยด้วยโรคเอดส์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกรักร่วมเพศ ทำให้การระบาดและการติดเชื้อไม่ได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มของผู้หญิง บริการดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการให้คำแนะนำบริการ การจัดกิจกรรม “ค่ายพัก” สำหรับพ่อแม่และเด็กป่วยและเด็กติดเชื้อเอดส์ และการให้บริการรับบุตรบุญธรรมและครอบครัว อุปการะ สำหรับบริการที่คล้ายคลึงกันในสองประเทศ ได้แก่ บริการการรักษาพยาบาล การให้คำแนะนำปรึกษา การจัดกิจกรรม “ค่ายพัก” การให้บริการรับบุตรบุญธรรม หรือหาครอบครัวอุปการะ สำหรับบริการที่แตกต่างกันในประเทศไทยมีบริการให้การสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์มีการเตรียมชุมชนให้เข้าใจและยอมรับผู้ป่วยผู้ติดเชื้อเอดส์ซึ่งในประเทศออสเตรเลียไม่ต้องเน้นเรื่องนี้ เพราะประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง โรคเอดส์ค่อนข้างดี การให้บริการสงเคราะห์ เช่น การให้เงินกับครอบครัว ในประเทศออสเตรเลียบริการนี้ไม่จำเป็นเพราะมีระบบการประกันสังคม และการประกันสุขภาพที่ดีกว่า

            สำหรับการเสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมของการให้บริการทั้งสองประเทศนั้น ในทัศนะของผู้ศึกษาวิจัยมีความเห็นว่า บริการของประเทศออสเตรเลียครอบคลุมแล้ว และจำนวนเด็กที่ติดเชื้อและป่วยเป็นเอดส์ก็มีน้อยมาก ส่วนในประเทศไทยรูปแบบที่เหมาะสมนอกจากเน้นเรื่องบริการที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังควรเน้นการป้องกันการรณรงค์ไม่ให้มีการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก การปรับปรุงระบบประกันสังคม และระบบประกันสุขภาพของประชาชน การรณรงค์ให้ประชาชนมีแนวความคิดในการยอมรับผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ทั้งในชุมชนและยอมรับการเป็นครอบครัวบุญธรรมหรือครอบครัวอุปถัมภ์ให้กับเด็กติดเชื้อเด็กป่วยเป็นเอดส์ ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากรัฐบาล เอกชน และประชาชนทั่วไป รวมทั้งคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของเด็กเป็นหลักด้วย

            สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้มีกรณีศึกษาของทั้งสองประเทศ คือ หน่วยงานที่ให้บริการกับเด็กติดเชื้อเอดส์และครอบครัวในประเทศไทย ได้แก่ สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในฐานะหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานเอกชน ได้แก่ มูลนิธิเกื้อดรุณ สำหรับหน่วยงานในประเทศออสเตรเลีย เมืองซิดนีย์ รัฐนิเซาท์เวลล์ ได้แก่ โรงพยาบาล Pince of Wales ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเด็กและโครงการ Ankali ซึ่งเป็นหน่วยงานกึ่งรัฐและกึ่งเอกชน ที่ทำหน้าที่จัดบริการให้กับเด็กป่วยเด็กติดเชื้อเอดส์ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีจำนวนอยู่น้อยมาก ประมาณว่าไม่เกิน 180 คน ทั้งประเทศ

            โดยสรุป การศึกษาครั้งนี้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ถึงแม้ว่าประเทศออสเตรเลียจะมีจำนวนเด็กติดเชื้อเด็กป่วยเป็นเอดส์น้อยมาก เพราะการแพร่ระบาดของโรคแตกต่างจากในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์ในแง่ของการได้ความรู้ เรื่อง การให้บริการกับเด็กติดเชื้อเด็กป่วยเป็นเอดส์และการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ จากประเทศออสเตรเลียและได้ความรู้ การให้บริการกับเด็กติดเชื้อเด็กป่วยเป็นเอดส์ในประเทศไทย และประเด็นสำคัญที่พบเช่น การปรับปรุงระบบประกันสังคม ระบบการประกันสุขภาพ ระบบประกันสุขภาพ การรณรงค์ให้ประชาชนยอมรับผู้ป่วยผู้ติดเชื้อเอดส์ การรณรงค์ให้ประชาชนยอมรับผู้ป่วยผู้ติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกเพิ่มมากขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องปฏิบัติกันอย่างจริงจัง เพื่อที่ประเทศไทยจะได้ลดจำนวนของเด็กที่จะติดเชื้อเอดส์และเด็กที่กำลังป่วยและกำลังติดเชื้อเอดส์อยู่ในปัจจุบัน ก็จะได้รับการดูแลที่ดี และเหมาะสมมากยิ่งขึ้นในอนาคต

  

ABSTRACT

 

            The comparative study of the work with the HIV infected children, the AIDS children and their families in Thailand and Australia, is focused on the pattern of the services of both the government and non-government sectors provided for the children from newborn baby to the age of fourteen who have AIDS and HIV infection as well as their families, on the comparison of the service in two countries, and on the search for the appropriate forms of the services for both countries.  Two types of services are found in Thailand.  First, the service for the children whose parents are still alive consists of providing the cure and treatment, the financial or material support, the counsel, the educational fund, or the financial aid for their parents to earn their living.  Secondly, the service for the children whose parents passed away consists of finding the foster or adoptive family if they don’t have any relatives; providing the counsel and educational fund; and implementing the community with the understanding about AIDS.  In Australia, there are very few AIDS and HIV infected children.  Women are not effected by the spread and the infection of the disease because most of the patients are homosexual.  The service consists of providing the counsel, arranging the camping activities for the parents of those children, and finding the foster families,  Similar services in both countries are providing the cure and treatment, the counsel, the camping activities, and the foster families.  Different services are the rehabilitation home and the implement the community with the understanding and accepting the AIDS patients in Thailand, that are not necessary in Australia because the people have somewhat good understanding about AIDS.  The support services such as providing families with financial fund are also not compulsory in Australia, because the social security system and the healthcare are much better.

            According to the researcher, the services provided in Australia have already been appropriate whereas the number of the infected children and the AIDS children is very low.  The appropriate types of services in Thailand apart from the emphasis on the efficient services are the protection, the campaign on preventing the AIDS contract between mother and child, the improvement of the social security system and the healthcare, the campaign on encouraging people to accept the AIDS and the HIV infected persons into the community, and to be adoptive or foster families for the AIDS and the infected children.  These measures need to have the cooperation from the government, the private sector, and the general public; regarding mainly on the interest of the children.

            The case study of this research in Thailand is conducted in the organized that provide the services for the AIDS and the HIV infected children and their families; i.e. Baan Wiangping Rehabilitation Home for Children, under command of the Public Welfare Department, Ministry of Labor and Social Welfare as the government organization; Kuadaroon Foundation as the private sector.  The organizations in Australia are the Prince of Wales Hospital, the child - hospital in Sydney, New South Wales; the Ankali Project, the semi-government/private organization, which provides services for HIV infected children in a very small number in Australia.  There are approximately not more than 180 HIV infected children in Australia.

            In conclusion, this study has achieved the target objective.  Although there are very few AIDS and HIV infected children in Australia; because the spread of the disease is different from that in Thailand, this study is beneficial for the knowledge about the services for the AIDS and HIV infected children as well as the spread of this disease.  Some important issues must be taken seriously ; i.e. the improvement of the social security system, the healthcare system, the campaign on encouraging people to accept the AIDS and HIV infected persons, the campaign on preventing the AIDS contract between mother and child.  Consequently, the number of the AIDS infected children in Thailand will be lowered, and the children who are suffering from the AIDS and HIV infection will be treated well and more appropriately in the future.

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th