English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   

 

ปีงบประมาณ 2539

 

ชื่อโครงการวิจัย                บทบาทของจีนในเอเชียแปซิฟิกในศตวรรษที่ 21

ชื่อผู้ทำวิจัย                      ศาตราจารย์ ดร.สุรชัย   ศิริไกร

ปีที่เสร็จ      2545           จำนวนหน้า        105     หน้า

 

            จีนเริ่มเปิดประเทศในปี ค..1978 ในสมัยของเติ้ง เสี่ยวผิง ภายใต้นโยบายการพัฒนา   “สี่ทันสมัย” ใน 4 ด้านคือ เกษตรกรรม  อุตสาหกรรม  การทหาร  และวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี เพื่อให้จีนเป็นประเทศสังคมที่ทันสมัยภายในปี ค..2000 ปรากฎว่าภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี ผู้นำจีนได้สำเร็จและประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า อัตราการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 6.7 ในปี ค..1979 เป็น 14.3 ในปี ค..1984 และลดลงเหลือร้อยละ 11 และ 10.5 ในปี ค..1987 และ 1988 โดยเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากปี 1978-1988 สูงร้อยละ 9 ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตของประเทศอังกฤษและประเทศยุโรปอื่นๆ สูงเพียงร้อยละ 2-3 ในช่วงปี ค..1973-1992 ในปี ค..1992 อัตราการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้พุ่งขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 14.2 และภายหลังจากนั้นอยู่ในระดับร้อยละ 8-9 ซึ่งเป็นอัตราการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน ทั้งนี้เนื่องจากความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของเป็นรากฐานของการพัฒนาอำนาจทางทหาร วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี และอิทธิพลทางการเมืองที่ปูพื้นฐานไปสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจของจีนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและการเป็นประเทศอภิมหาอำนาจระดับโลกในศตวรรษที่ 21 ด้วยประเทศมหาอำนาจตะวันตกและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของจีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้านที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับประเทศจีนโดยตรงเกี่ยวกับปัญหาพรมแดน ปัญหาความมั่นคงและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ต่างหวาดกลัวการพัฒนากองทัพและอาวุธของจีนซึ่งเกิดขึ้นควบคู่ไปกับความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ เนื่องจากจีนได้พัฒนากองทัพเรือและกองทัพอากาศให้ทันสมัย และมีศักยภาพในการปกป้องผลประโยชน์และพรมแดนของจีนห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศได้มากขึ้น ดังเช่นหมู่เกาะสแปรตลี่ในทะเลจีนใต้ เกาะเดี่ยวหลี่ไถ และเกาะไต้หวัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประเทศจีนอ้างว่าเป็นเขตแดนของจีนและต้องรวมเข้ากับประเทศจีนโดยสันติวิธีหรือด้วยการใช้กำลังทหาร

            ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการทหารของจีนไม่เพียงทำให้ประเทศที่มีผลประโยชน์     ขัดแย้งโดยตรงกับประเทศจีนเกี่ยวกับดินแดนและพรมแดนมีความวิตกกังวลเท่านั้น แต่ประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น อินเดีย กลุ่มประเทศประชาคมยุโรป และกลุ่มประเทศอาเซียนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของจีนจากประเทศที่อ่อนแอในศตวรรษที่ 20 กลายเป็นประเทศมหาอำนาจระดับโลกในต้นศตวรรษที่ 21 ว่าจะมีผลกระทบต่อดุลอำนาจทางการเมือง การทหารและเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและของโลกอย่างไรนั่นคือ คำถามเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของจีน (The rise of China) การเติบโตของจีนจากประเทศอ่อนแอกลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ เป็นประเด็นที่ได้รับการศึกษาวิจัยกันมาก โดยนักวิจัยของประเทศตะวันตกและ       เอเชียในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 นักวิจัย นักเขียนของประเทศตะวันตกและประเทศเอเชียที่มี

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th