English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

ปีงบประมาณ  2533

 

ชื่อโครงการ                    นโยบายสี่ทันสมัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้ทำวิจัย                        รองศาสตราจารย์ วันรักษ์  มิ่งมณีนาคิน

จำนวน                          75  หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

 

          เมื่อเติ้งเสี่ยวผิงกลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้งใน ปี 1977 เขาได้ผลักดันให้มีการประกาศใช้นโยบายสี่ทันสมัยเพื่อพัฒนาประเทศจีนให้เป็นประเทศที่ทันสมัยใน 4 ด้าน คือ เกษตรกรรม    อุตสาหกรรม    วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการป้องกันประเทศภายใน ค.. 2000 ทั้งนี้โดยกำหนดแผนแรกของสี่ทันสมัยไว้ อย่างไรก็ตาม  หลังจากที่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปีกว่าก็ปรากฎว่ามีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งมีต้นเหตุที่สำคัญที่สุดเพียงประการเดียว นั่นคือ ความรีบร้อนในการดำเนินการ จึงขาดการเตรียมการทั้งในด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ฝ่ายต่างๆ ขาดการปรับปรุงการจัดองค์กร ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านวิทยาการสมัยใหม่ ขาดระบบการเงินการธนาคารที่ทันสมัยเพื่อรองรับการลงทุนที่ขยายตัว

          ดังนั้นในเดือนธันวาคม ค.. 1980 จึงมีการประกาศใช้ "แผนปรับปรุงทางเศรษฐกิจระยะ 3 ปี ค.. 1981-1983" เพื่อบรรเทาปัญหาต่างๆ และตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นไป ดูเหมือนว่าทางการจีนรวมทั้งผู้นำจีนต่างก็มิได้เอ่ยถึงคำว่า "สี่ทันสมัย" อีกต่อไป ในแง่ของการศึกษาจึงอาจถือได้ว่าช่วงแห่งการใช้นโยบายสี่ทันสมัยนั้นคือช่วงปี 1978-1980 หลังจากนั้นต่อไปเป็นช่วงแห่งการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ

          การที่ทางการจีนตัดสินใจประกาศใช้แผนปรับปรุงทางเศรษฐกิจในปลายปี 1980 แสดงว่าผู้กำหนดนโยบายของจีนยอมรับบทเรียนจากการดำเนินงานพัฒนาอย่างเร่งรีบ     แต่ขณะเดียวกันผู้นำจีนส่วนใหญ่ก็ยังคงความใฝ่ฝันในการนำประเทศจีนให้ก้าวไปยืนอยู่แถวหน้า อันเป็นระดับเดียวกับที่ประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายจับจองอยู่

          แต่เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล     และมีจำนวนประชากรมากมายมหาศาล การนำประเทศจีนไปสู่ความเจริญทางเศรษฐกิจระดับแถวหน้า  คงมิใช่งานที่ทำได้ง่าย หากจะทำให้สำเร็จผู้นำจีนรุ่นนี้และรุ่นต่อๆ ไปจักต้องเริ่มต้นโดยลงมือศึกษาทำความเข้าใจถ่องแท้ ไม่เพียงแต่ประวัติการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น หากยังต้องรับรู้ถึงประวัติการพัฒนาสังคมและการเมืองของประเทศอุตสาหกรรมเหล่านี้ด้วย เพื่อค้นให้พบถึงกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการพัฒนาระบบสังคมของประเทศเหล่านี้

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th