English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

ปีงบประมาณ 2532

ชื่อโครงการวิจัย              การสร้างเด็กโดยผ่านขบวนการศึกษาต่างวัฒนธรรม

ผู้ทำวิจัย                         รศ.วรินทร  วูวงศ์

จำนวนหน้า                    80  หน้า

โดยทุนมูลนิธิญี่ปุ่น ประจำปี ค.. 1989

           

บทคัดย่อภาษาไทย

           

            ปัจจุบันประเทศไทย กำลังพัฒนาทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ตัวแปรหนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงนี้คือ การพัฒนาคุณภาพของคนซึ่งผู้วิจัยมองว่า ในประเทศไทยนั้น การพัฒนาคุณภาพของคนยังมีปัญหาอยู่มาก และเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ

            ผู้วิจัยเชื่อว่า การพัฒนาคนให้มีคุณภาพนั้นอยู่ที่วิธีการให้การศึกษาเป็นหลัก และวิธีการให้การศึกษานี้ต้องได้รับการปลูกฝังที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยเหตุผลนี้ผู้วิจัยจึงให้ความสำคัญต่อการสร้างเด็กในระดับประถมศึกษาเป็นอย่างมาก โดยศึกษาจากขบวนการให้การศึกษาในระดับประถมของญี่ปุ่นเป็นหลัก เนื่องจากเมื่อกล่าวถึงคนที่มีคุณภาพแล้ว หลายคนจะนึกถึงคนญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสำคัญและลงทุนตรงส่วนนี้มาก

            จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาเคล็ดลับ การสร้างเด็กแบบญี่ปุ่นว่ามีวิธีการอย่างไร โดยดูจาก หลักสูตร การใช้ชีวิตในโรงเรียนของเด็ก และวิธีการสอน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงผลดีและผลเสียของวิธีการดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นบทเรียนหรือแบบอย่างในการเสนอวิธีให้การศึกษาต่อเด็กไทยอย่างเป็นรูปธรรม

            จากผลของการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า ญี่ปุ่นมีขบวนการหล่อหลอมเด็กอย่างเป็นรูปธรรม ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ภายใต้ขบวนการดังกล่าว ผู้วิจัยได้ค้นพบว่า ญี่ปุ่นได้ใช้วิธีการบางอย่างเพื่อช่วยขบวนการหล่อหลอมนี้ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้วิจัยมองว่า วิธีการดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่นไปแล้ว และวัฒนธรรมที่กล่าวนี้คือ

1. วัฒนธรรมรวมกลุ่ม

2. วัฒนธรรมเป้าหมาย

3. วัฒนธรรมวิจารณ์ตนเอง

4. วัฒนธรรมปฏิบัตินิยม

5. วัฒนธรรมการอ่าน 

            แม้ว่าจะมี ข้อเสียอยู่ในบางวัฒนธรรมที่ผู้วิจัยได้ทำการสรุปไว้ก็ตาม

            แม้กล่าวโดยภาพรวมแล้ว ผู้วิจัยเห็นว่าวิธีการให้การศึกษาแบบญี่ปุ่นนั้นมีความเป็นรูปธรรมมาก และไม่ยากจนเกินไปในการนำมาประยุกต์หรือปฏิบัติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างเด็กไทยให้คุณภาพต่อไป

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th