ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ  “การปราบปรามคอร์รัปชันในประเทศเอเชียตะวันออก: บทเรียน และนัยยะต่อประเทศไทย”
จัดโดย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมกับ สถาบันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันพฤหัสบดี ที่ 24  กรกฎาคม  2557 เวลา 13.00-16.15 น.
ณ ห้องสายสัมพันธ์ ไทย – ญี่ปุ่น   สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต

                        

หลักการและเหตุผล 
            การคอร์รัปชันหรือการทุจริตและประพฤติมิชอบ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่หลายประเทศประสบ ขนาดและรูปแบบการคอร์รัปชันก็มีความแตกต่างกันออกไป ดังเช่น การรับสินบนของข้าราชการเพื่อช่วยเหลือ พ่อค้าในการหลีกเลี่ยงภาษี การปกปิดทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือการซื้อเสียงเลือกตั้งของนักการเมือง สำหรับในส่วนของผู้กระทำผิด อาจเป็นการกระทำของข้าราชการการเมือง  ข้าราชการประจำ หรืออาจมีเอกชนภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยผลกระทบของการคอร์รัปชัน อาจถือว่าได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศค่อนข้างมาก ดังนั้นในการบริหารงานแต่ละประเทศได้ตระหนัก ถึงผลเสียที่เกิดขึ้น จึงรณรงค์ให้มีการป้องกันและขจัดปัญหาการคอร์รัปชันกันอย่างกว้างขวางเพื่อให้เกิดการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
            เกาหลีใต้ถึงแม้จะอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่ก็ยังเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชัน โดยนับตั้งแต่ประธานาธิบดีซิงมันรี (Syngman Rhee) ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะประชาชนเดินขบวนขับไล่ เนื่องจากทุจริต การเลือกตั้ง หรืออดีตประธานาธิบดีชุนดูฮวาน (Chun Doo-hwan) และประธานาธิบดีโร แตวู (Roh Tae-woo) ต้องคำพิพากษาจำคุก เพราะการเรียกรับผลประโยชน์อันมิชอบจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ (chaebol) สำหรับในประเทศจีน นับตั้งแต่จีนเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเปิดรับการลงทุนจากภายนอก จีนต้องเผชิญปัญหากับการที่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลส่วนหนึ่ง เรียกรับผลประโยชน์จากนักธุรกิจ เพื่อแลก เปลี่ยนกับการได้รับสัมปทานหรือ ใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจในจีนยังต้องเผชิญกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ การขโมยข้อมูลข่าวสาร รวมถึง ในสถาบันการศึกษาบางแห่ง ก็มีปัญหาเกี่ยวกับ อาจารย์ปลอมแปลงวุฒิการศึกษา ในส่วนของญี่ปุ่นถึงแม้จะมีความโปร่งใสในภาคการเมืองและภาคธุรกิจมากกว่าเกาหลีใต้ และจีนแต่ปัญหาการคอร์รัปชันก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในกลุ่มของข้าราชการ ประจำและข้าราชการ การเมือง ดังสังเกตได้จากนักการเมืองหลายคนต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะถูกกล่าวหาเกี่ยวพันกับการคอร์รัปชัน
           จะเห็นได้ว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะมีแนวโน้มการเกิดคอร์รัปชันมากขึ้นในแต่ละประเทศจึงพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวส่วนประเทศไทยเองปัญหาคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาช้านาน และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่งแม้ปัจจุบันหลายๆรัฐบาลที่ผ่านมาจะได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ด้กำหนดปัญหาคอร์รัปชันให้อยู่ในแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หรือมีการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับต่างๆแต่ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันก็ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงอีกทั้งยังได้ทวีความรุนแรงและมีความซับซ้อนยากต่อการ
ตรวจสอบมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังได้เกิดปัญหาในการบริหารประเทศครั้งแล้วครั้งเล่าแม้แต่ในการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมาสาเหตุความล้มเหลวและได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงและยาวนาน ส่วนใหญ่ก็มีมาจากการ ทุจริตคอร์รัปชันจากฝ่ายการเมืองนั่นเอง
            จากปัญหาดังที่กล่าวมา จึงเห็นสมควรนำผลการศึกษาดังกล่าวมาถ่ายทอดให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และสาธารณชนได้รับทราบว่าปัจจัยใดเป็นมูลเหตุสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการคอร์รัปชันขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออก คือเกาหลีใต้ จีนและญี่ปุ่น ว่ามีรูปแบบการคอร์รัปชันอย่างไร และในขณะเดียวกัน ก็ศึกษาว่าทั้งสามประเทศดังกล่าว  ใช้มาตรการหรือวิธีการใดในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน และผลดำเนินการดังกล่าวเป็นอย่างไร  อีกทั้งประเทศไทยสามารถ นำประสบการณ์การจัดการการทุจริตคอร์รัปชันดังกล่าวมาเป็นบทเรียน และนัยยะต่อประเทศไทยอย่างไร 
 
 
วัตถุประสงค์
- เพื่อนำเสนอมูลเหตุ รูปแบบ หรือปัจจัยที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน และผลการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศเกาหลีใต้ จีนและญี่ปุ่น 
- เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การจัดการการทุจริตคอร์รัปชัน: บทเรียน และนัยยะต่อประเทศไทย  
- เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำองค์ความรู้ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้   อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย

 

กำหนดการ

12.30-13.00 น.     ลงทะเบียน
13.00-13.15 น.     พิธีเปิดงานสัมมนา
                                - กล่าวรายงาน
                                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ ประเสริฐสุข
                                  ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                                - กล่าวเปิด
                                  ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
                                   อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1315-14.45น.     - นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องการศึกษามูลเหตุ รูปแบบ และการแก้ไขการคอร์รัปชันใน เกาหลีใต้ จีนและญี่ปุ่น
                                    ศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย ศิริไกร 
                                          กีรตยาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                              - การคอร์รัปชันทางการเมืองในเกาหลีใต้
                                   อาจารย์ ดร.วิเชียร  อินทะสี  
                                   ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
                                   คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
                              -   การศึกษามูลเหตุ  รูปแบบ และการแก้ไขคอร์รัปชันในจีน
                                   นางสาว ยุพิน คล้ายมนต์ นักวิจัยชำนาญการพิเศษ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มธ.
                              -    การศึกษามูลเหตุ  รูปแบบ และการแก้ไขคอร์รัปชันในญี่ปุ่น
                                    ดร. วรางคณา  ก่อเกียรติพิทักษ์ นักวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ
                                    นาย วทัญญู ใจบริสุทธิ์  นักวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ
14.45-15.00 น.      พักรับประทานอาหารว่าง
15.00-16.00 น.    -  การปราบปรามคอร์รัปชัน: บทเรียนจากต่างประเทศ และประสบการณ์ในประเทศไทย  
                                  ศาสตราจารย์ ดร.เมธีครองแก้ว
                                  อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
16.00-16.15 น.       ถาม – ตอบ
16.15                       ปิดการสัมมนา 

 

          

                       ใบตอบรับเข้าร่วมงาน

 
 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศูนย์รังสิต โทร.0-2564-5000-3 ต่อ 323  โทรสาร 0-2564-4888    http://www.asia.tu.ac.th